วิตามินและแร่ธาตุล้วนมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง แต่การได้รับสารอาหารบางชนิดให้เพียงพอนั้นมีความสำคัญมากกว่าเมื่อคุณเป็นโรคข้ออักเสบ คู่มือชุดนี้จะให้ข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวกับวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอย่างละเอียด เพื่อช่วยให้คุณทบทวนว่าคุณได้ขาดสารอาหารอะไรไปบ้างหรือเปล่า แต่โปรดจำไว้ว่า แม้อาหารเสริมบางชนิดจะช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบได้ แต่ก็ไม่มีอะไรที่สามารถทดแทนยาที่แพทย์สั่ง อาหารเพื่อสุขภาพหรือการออกกำลังกายได้ จึงจำเป็นต้องพูดคุยกับแพทย์อยู่เสมอก่อนที่จะรับประทานอาหารเสริม วิตามิน หรือแร่ธาตุใหม่ๆ นั่นก็เพราะว่าการรับประทานบางสิ่งบางอย่างที่ “เป็นธรรมชาติ” ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือมีปฏิกิริยากับยาได้ ดังนั้น หากคุณต้องการเคล็ดลับเพิ่มเติมในการเลือกอาหารเสริมที่ปลอดภัย คุณสามารถอ่านได้จากบทความต่อไปนี้

1. แคลเซียม
มีประโยชน์อะไรบ้าง : แคลเซียมเป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ช่วยรักษากระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยควบคุมการหดตัวของ
กล้ามเนื้อ และสร้างแรงกระตุ้นเส้นประสาท อีกทั้งยังช่วยปลดปล่อยฮอร์โมนและเอนไซม์ที่จำเป็น นอกจากนี้ แคลเซียมยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน (การสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก) และการแตกหัก ที่ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) และผู้ที่รับประทานยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ปริมาณที่ควรบริโภค : ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีควรบริโภคแคลเซียมปริมาณ 1,200 มก.ต่อวัน แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบอาจต้องการมากกว่านั้น ที่ซึ่งมากถึง 1,500 มก. สำหรับผู้ชายและสตรีวัยหมดประจำเดือน อีกทั้ง เมื่อเร็วๆ นี้ ยังมีผลการวิจัยที่ได้หักล้างคำกล่าวอ้างที่ว่าอาหารเสริมแคลเซียมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายอีกด้วย
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 2,500 มก.
เมื่อรับประทานแคลเซียมน้อย : อาจก่อให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก การสูญเสียฟัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และความดันโลหิตสูง
อาหารที่มีแคลเซียม : นมไขมันต่ำ โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียวและผักต่างๆ เช่น ผักคะน้า บรอกโคลี ผักโขม ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ปลาแซลมอนพร้อมกระดูก ซีเรียลเสริมแคลเซียม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (รวมถึงเต้าหู้) น้ำส้ม และนมจากถั่ว
ก่อปฏิกิริยากับ : ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม ยาปฏิชีวนะ ยากันชัก ยารักษากระดูก คอร์ติโคสเตียรอยด์ ยากลุ่มปิดกั้นช่องแคลเซียม ยาขับปัสสาวะ ยาระบาย และวิตามินรวมที่มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
มีการศึกษาหลายสิบชิ้นพบว่า อาหารเสริมแคลเซียมที่มีหรือไม่มีวิตามินดีสามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพกระดูกได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ทำให้เรื่องที่ว่าแคลเซียมและวิตามินดีสามารถป้องกันการกระดูกหักได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากขึ้น แต่จากการวิเคราะห์อภิมานเมื่อปี 2016 พบว่าอาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดีช่วยลดความเสี่ยงกระดูกหักได้ ประมาณ 15% และลดความเสี่ยงกระดูกสะโพกหักได้ถึง 30%

2. โครเมียม
มีประโยชน์อะไรบ้าง : โครเมียมช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานจากอาหาร ช่วยให้สมองทำงาน และช่วยให้ร่างกายสลายอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายเป็นปกติ
ปริมาณที่ควรบริโภค : ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผู้ชายอายุ 14 ถึง 50 ปีควรบริโภคโครเมียมปริมาณ 35 ไมโครกรัมต่อวัน และสำหรับผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไปควรบริโภคโครเมียมปริมาณ 30 ไมโครกรัมต่อวัน ในขณะนี้ผู้หญิงอายุ 14 ถึง 50 ปีควรบริโภคโครเมียมปริมาณ 25 ไมโครกรัมและสำหรับผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปควรบริโภคโครเมียมปริมาณ 25 ไมโครกรัมต่อวัน
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ไม่มีการกำหนดปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน
เมื่อรับประทานโครเมียมน้อย : ความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่องลง
อาหารที่มีโครเมียม : บริวเวอร์ยีสต์ บรอกโคลี ไก่ เนื้อวัว ไข่ พริกหยวก พริกไทยดำ กากน้ำตาล แอปเปิล ผักโขม และจมูกข้าวสาลี
ก่อปฏิกิริยากับ : อินซูลิน ยารักษาไทรอยด์ ยาลดกรด คอร์ติโคสเตียรอยด์ H2-blockers และยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารโดยออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ proton pump
โครเมียมอาจเพิ่มผลของยารักษาโรคเบาหวาน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าอาหารเสริมโครเมียมสามารถป้องกันหรือรักษาโรคเบาหวานได้

3. ทองแดง
มีประโยชน์อะไรบ้าง : ทองแดงช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยการขนส่งของธาตุเหล็ก ทำให้เกิดเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และดูแลเส้นประสาทและหลอดเลือดให้แข็งแรง อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยขจัดอนุมูลอิสระ
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 900 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 10,000 ไมโครกรัม
เมื่อรับประทานทองแดงน้อย : เกิดขึ้นได้ยาก แต่อาจก่อให้เกิดโรคโลหิตจาง และโรคกระดูกพรุน
อาหารที่มีทองแดง : เครื่องในสัตว์ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี อาหารทะเล ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกอ่อน มันฝรั่ง ผักใบเขียวเข้ม และผลไม้แห้ง
ก่อปฏิกิริยากับ : ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาโรคเกาต์ ยากรดไหลย้อน ยาคุมกำเนิด และสังกะสี
แม้ว่าทองแดงจะมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและมีประโยชน์ในการลดการเกิดโรคหัวใจและโรคอัลไซเมอร์ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าทองแดงสามารถเป็นอาหารเสริมในการรักษาโรคข้ออักเสบได้ อีกทั้งยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการสวมใส่เครื่องทองแดงช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบได้เช่นกัน

4. โฟเลต
มีประโยชน์อะไรบ้าง : โฟเลตและกรดโฟลิกในรูปแบบอาหารเสริมล้วนเป็นวิตามินบี 9 ทั้งสองรูปแบบ โฟเลตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่แข็งแรง การสร้าง DNA และ RNA ตลอดจนถึงการป้องกันความพิการแต่กำเนิดและมะเร็งบางชนิด และที่น่ากังวลคือ การบริโภค Methotrexate ที่ซึ่งเป็นยาในการรักษาโรครูมาตอยด์ มักมีผลกระทบในการทำลายโฟเลต ดังนั้นจึงแนะนำให้แพทย์สั่งจ่ายอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยทุกรายที่รับประทานยาตัวนี้
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 400 ไมโครกรัมสำหรับผู้ใหญ่ และ 600 ไมโครกรัมสำหรับสตรีมีครรภ์
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : การได้รับกรดโฟลิกเสริมมากกว่า 1,000 ไมโครกรัมต่อวันอาจทำให้เกิดการขาดวิตามินบี 12 ที่ซึ่งนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หากคุณอายุมากกว่า 50 ปี ให้ตรวจระดับวิตามินบี 12 ก่อนรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิก
เมื่อรับประทานโฟเลตน้อย : การขาดโฟเลตอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้า เกิดแผลในปาก ลิ้นบวม น้ำหนักลด และมีการเจริญเติบโตไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดมะเร็งบางชนิด โรคโลหิตจาง โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย อีกทั้ง การมีโฟเลตในระดับต่ำของหญิงตั้งครรภ์ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อความบกพร่องของท่อประสาทในทารกได้
อาหารที่มีโฟเลต : โฟเลตมักเกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะผักใบเขียว เช่น ผักโขมและผักคะน้า น้ำส้ม และผลไม้ส่วนใหญ่ ถั่วแห้งและถั่วลันเตา อีกทั้งยังมีการเติมกรดโฟลิกเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับธัญพืช ซีเรียล และพาสต้าหลายชนิด
ก่อปฏิกิริยากับ : ยาต้านอาการชัก ยารักษาโรคลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล ยาลดกรด แอลกอฮอล์ ยาปฏิชีวนะ แอสไพริน ยาลดคอเลสเตอรอลบางชนิด และยาคุมกำเนิด
จากการทบทวนงานวิจัยจำนวน 7 ชิ้นในปี 2018 พบว่ากรดโฟลิกช่วยลดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยา methotrexate ได้ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน และมีความเป็นพิษต่อตับ ปริมาณการบริโภคในระดับสูงและต่ำ (มากกว่า 25 มก. ต่อสัปดาห์และน้อยกว่า 10 มก. ต่อสัปดาห์) ล้วนให้ประสิทธิผลเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะใช้ methotrexate ในระดับสูงกว่าก็ตาม ดังนั้น จึงควรรับประทานยาสัปดาห์ละครั้งในปริมาณตั้งแต่ 1,000 ถึง 5,000 ไมโครกรัมต่อวันในช่วงเช้าหลังจากที่ฉีด methotrexate แล้ว นอกจากนี้ งานวิจัยยังแนะนำว่าโฟเลตและกรดโฟลิกอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้

5. ธาตุเหล็ก
มีประโยชน์อะไรบ้าง : ธาตุเหล็กช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางด้วยการช่วยสร้างฮีโมโกลบิน ที่ซึ่งเป็นโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ส่งออกซิเจนออกไปทั่วร่างกาย
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 8 มก. ต่อวัน สำหรับผู้ชาย 18 มก. ต่อวัน สำหรับผู้หญิงจนถึงวัยหมดประจำเดือน 8 มก. สำหรับผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน (อาหารเสริมธาตุเหล็กอาจทำให้ท้องผูก คลื่นไส้ และปวดท้องได้ จึงควรรับประทานร่วมกับวิตามินซีเพื่อช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก)
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 45 มก. ต่อวัน
เมื่อรับประทานธาตุเหล็กน้อย : การขาดธาตุเหล็กเป็นหนึ่งในรูปแบบการขาดสารอาหารที่พบได้บ่อยที่สุด อาการของการขาดสารอาหารขั้นเริ่ม ได้แก่ รู้สึกเหนื่อยล้า หายใจไม่สะดวก สุขภาพจิตแย่ลง ไม่มีความอยากอาหาร อุณหภูมิร่างกายไม่คงที่ และภูมิคุ้มกันลดลง
อาหารที่มีธาตุเหล็ก : ตับ เนื้อวัว ไก่งวง ปลา ถั่วแห้ง ถั่วลันเตาและถั่วเลนทิล ผักโขม ลูกเกด ธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์จะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าอาหารมังสวิรัติ แต่อาหารมังสวิรัติก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ดี
ก่อปฏิกิริยากับ : ยาลดคอเลสเตอรอล ยาป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร และยาปฏิชีวนะ
ภาวะโลหิตจางหรือระดับเม็ดเลือดแดงต่ำพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากอาจเป็นผลมาจากการอักเสบ ที่ซึ่งขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก หรืออาการเลือดออกในทางเดินอาหารที่เกิดจากการใช้ยา อีกทั้ง การศึกษานี้ยังแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นทั้งโรค RA และโรคโลหิตจางมักมีอาการที่รุนแรงและสร้างความเสียหายมากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคโลหิตจาง

6. แมกนีเซียม
มีประโยชน์อะไรบ้าง : แมกนีเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจและระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงช่วยรักษากระดูกอ่อนข้อต่อ
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 420 มก. ต่อวันสำหรับผู้ชายอายุ 31 ปีขึ้นไป และ 320 มก. สำหรับผู้หญิง อีกทั้ง ยังแนะนำให้เลือกแมกนีเซียมโอโรเตต แมกนีเซียมออกไซด์ หรือแมกนีเซียมซิเตรต เพื่อการดูดซึมที่ดีที่สุด
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 350 มก.
เมื่อรับประทานแมกนีเซียมน้อย : มักพบไม่บ่อย แต่มีอาการเริ่มแรก เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยล้า และอ่อนแรง
อาหารที่มีแมกนีเซียม : อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง และเนยถั่ว ถั่วเหลือง ผักโขม ถั่วแห้ง มันฝรั่ง และเมล็ดธัญพืช
ก่อปฏิกิริยากับ : ยาขับปัสสาวะ ยาปฏิชีวนะ ยาลดกรด และยาระบายบางชนิด
มีงานศึกษาจำนวนหนึ่ง รวมถึงงานศึกษาของ Framingham Heart พบว่าการรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมและโพแทสเซียมสูงจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและอาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยหมดประจำเดือนได้

7. ซีลีเนียม
มีประโยชน์อะไรบ้าง : ซีลีเนียมเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระ หรือผลพลอยได้ที่เป็นพิษจากกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกาย นอกจากนี้ยังจำเป็นในการทำงานของต่อมไทรอยด์และระบบภูมิคุ้มกัน
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 55 ไมโครกรัมต่อวัน
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : การได้รับซีลีเนียมเสริมมากกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวันอาจเป็นพิษได้
เมื่อรับประทานซีลีเนียมน้อย : เกิดขึ้นค่อนข้างยาก ภูมิคุ้มกันบกพร่องและโรคหัวใจ
อาหารที่มีซีลีเนียม : ซีลีเนียมยีสต์ ถั่วต่าง ๆ โดยเฉพาะถั่วบราซิล กุ้ง ทูน่า ไก่งวง ไก่ และเมล็ดธัญพืช
งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าซีลีเนียมอาจช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถบรรเทาอาการปวดหรือตึงในผู้ที่เป็นโรคประจำตัวได้

8. โซเดียม
มีประโยชน์อะไรบ้าง : โซเดียมช่วยกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายควบคุมของเหลวในร่างกาย และส่งผลต่อความดันโลหิต
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่เพียงพออยู่ที่ 1,500 มก. สำหรับผู้ใหญ่
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 2,300 มก.
เมื่อรับประทานโซเดียมน้อย : การขาดโซเดียมนั้นพบได้น้อย นอกจากจะเป็นผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน จึงทำให้เกิดอาการ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ และเป็นลม
อาหารที่มีโซเดียม : เกลือ ซีอิ๊ว เนื้อสัตว์แปรรูป ซุปกระป๋อง ผงชูรส และอาหารจานด่วน
ก่อปฏิกิริยากับ : คอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ NSAIDs ฝิ่น และยาซึมเศร้า tricyclic
มีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่รับประทานอาหารที่มีเกลือสูง (ปริมาณ 9 กรัม ทุกวัน) จะสูญเสียแคลเซียมมากกว่า 33% และสูญเสียโปรตีนในกระดูกมากถึง 23% ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ (เพียง 2 กรัมต่อวัน)

9. วิตามินเอ
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยรักษาระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเสียสายตา ช่วยให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจแข็งแรง รวมถึงเสริมสร้างการเจริญเติบโตของกระดูก
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 3,000 หน่วยสากล (IU) สำหรับชายและหญิง
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันจากเรตินอล อยู่ที่ 10,000 IU วิตามินเอสามารถรับได้จาก 2 วิธี คือ วิตามินเอจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันปลา ไข่แดง หรือผลิตภัณฑ์จากนม และเป็นโปรวิตามินเอ-แคโรทีนอยด์ (รวมถึงเบต้า-แคโรทีน) จากผักและผลไม้ ที่ซึ่งร่างกายของคุณจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ (การได้รับปริมาณวิตามินเอจากสัตว์หรืออาหารเสริมที่แนะนำมากกว่า 3 เท่าหรือยิ่งกว่านั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกเปราะหักได้ อีกทั้งอาหารเสริมเบต้าแคโรทีนยังอาจมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่)
เมื่อรับประทานวิตามินเอน้อย : ค่อนข้างหาได้ยาก ตาบอดกลางคืน และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
อาหารที่มีวิตามินเอ : ตับ ไข่ นมผสมวิตามิน ผักและผลไม้หลากสี เช่น แครอท แคนตาลูป มันเทศ และผักโขม
ก่อปฏิกิริยากับ : ออริสแตท (Alli, Xenical) น้ำมันแร่ ยาคุมกำเนิด ยารักษาสิวโซเตรทติโนอิน (Accutane) อาซิเทร
ติน (Soriatane) และเบกซาโรทีน (Targretin)
มีหลายงานศึกษาที่แนะนำถึงรูปแบบของวิตามินเอชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กรดเรทิโนอิก ที่ซึ่งใช้ในการรักษาสิวและมะเร็งบางชนิด โดยที่อาจมีประโยชน์ในการควบคุม RA ด้วยการยับยั้งไซโตไคน์ที่อักเสบ

10. วิตามินบี 12
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินบี 12 จำเป็นต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท เพื่อสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง DNA และเพื่อผลิตพลังงาน อีกทั้ง วิตามินบี 12 รวมถึงวิตามินบี 6 และโฟเลต ยังช่วยลดกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีน ที่ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุและพบได้สูงในผู้ที่เป็นโรค RA
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 2.4 ไมโครกรัมต่อวัน แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญหลายคน รวมถึง National Academy of Medicine จะเชื่อว่าปริมาณดังกล่าวต่ำเกินไปก็ตาม ทำให้ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะพร่องอาจต้องรับประทานมากถึง 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน และหากวิตามินบี 12 ของคุณต่ำมาก แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาทุกสัปดาห์ควบคู่ไปกับการให้อาหารเสริมทางปาก
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ไม่มีการจำกัดปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันสำหรับวิตามินบี 12 โดยทั่วไปแล้ว หากรับประทานวิตามินบี 12 ปริมาณที่สูงไป ร่างกายจะดูดซึมเฉพาะสิ่งที่ต้องการ แล้วถ่ายส่วนที่เหลือผ่านทางปัสสาวะ
เมื่อรับประทานวิตามินบี 12 น้อย : การได้รับวิตามินบี 12 ที่น้อยเกินไปอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ประสิทธิภาพในการรับรู้น้อยลง เส้นประสาทถูกทำลาย และเกิดโรคโลหิตจาง เนื่องจากวิตามินบี 12 ในอาหารที่คุณรับประทานเข้าไปจะถูกทำลายด้วยกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหารของคุณ และหากคุณรับวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ คุณก็จะดูดซึมวิตามินบี 12 จากอาหารได้ไม่ดีนัก ดังนั้น คุณจึงสามารถได้รับวิตามินบี 12 ได้มากขึ้นจากอาหารเสริม นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้ผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี รับประทานอาหารเสริมเนื่องจากความสามารถในการดูดซึมวิตามินบี 12 จากอาหารจะลดลงตามอายุ
อาหารที่มีวิตามินบี 12 : วิตามินบี 12 เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะตับ หอยกาบ ไข่แดง และปลาแซลมอน อีกทั้ง ยังมีการเติมวิตามินสังเคราะห์ที่ดูดซึมง่ายกว่าลงในอาหารเสริมและซีเรียล พาสต้า และขนมปังบางชนิด รวมถึงในรูปแบบยาเม็ด ยาเม็ดละลายน้ำ สเปรย์ ของเหลว ยาฉีด และยาอื่น ๆ ที่ต้องสั่งโดยแพทย์
ก่อปฏิกิริยากับ : Methotrexate ยาลดกรดกลุ่ม Proton pump ยาเมตฟอร์มิน (ยาเบาหวาน) และโคลชิซีน (ยารักษาโรคเกาต์) ที่ซึ่งอาจรบกวนการดูดซึมวิตามินบี 12 ได้
การได้รับสารโฮโมซิสเทอีนในปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง เช่นเดียวกับการสูญเสียมวลกระดูก กระดูกหักง่าย และประสิทธิภาพการรับรู้ลดลงในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ในปี 2018 คณะผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ได้แนะนำการรักษาด้วยวิตามินบีสำหรับผู้ใหญ่ทุกคนที่มีระดับโฮโมซิสเทอีนสูง เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญเสียความจำและภาวะสมองเสื่อม

11. วิตามินบี 1
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินบี 1 หรือที่เรียกว่าไทอามีนจะเปลี่ยนกลูโคสเป็นพลังงาน ที่ซึ่งจำเป็นในการทำงานของหัวใจ สมอง ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 1.2 มก. สำหรับผู้ชาย และ 1.1 มก. สำหรับผู้หญิง
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ไม่มีอาการที่แน่ชัด
เมื่อรับประทานวิตามินบี 1 น้อย : การขาดวิตามินบี 1 อาจทำให้เกิดเหนื่อยล้า จิตตก และก่อให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาท
อาหารที่มีวิตามินบี 1 : วิตามินบี 1 ในรูปของไทอามีนมักพบได้ในเมล็ดธัญพืช ข้าวกล้อง ปลาหมู และถั่วแห้ง พาสต้า ขนมปัง ซีเรียล และข้าว
ก่อปฏิกิริยากับ : ฟูโรซีไมด์ (Lasix) ยาลดกรด ดิจอกซิน และเฟนิโทอิน (Dilantin)
งานศึกษาบางชิ้นได้แนะนำว่าวิตามินบี 1 อาจมีความสำคัญสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวและในการป้องกันต้อกระจก ซึ่งทั้งสองอย่างอาจเกี่ยวข้องกับโรค RA

12. วิตามินบี 2
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินบี 2 หรือที่เรียกว่าไรโบฟลาวินจะเปลี่ยนกลูโคสเป็นพลังงาน และช่วยป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนและต้อกระจกได้ อีกทั้ง ยังช่วยแปลงวิตามินบีอื่นๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถใช้ได้ ที่ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำงานและการเจริญเติบโตของเซลล์ปกติ รวมถึงยังช่วยป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระหรือโมเลกุลพิษที่เกิดขึ้นในร่างกาย ที่ซึ่งอาจมีส่วนก่อให้เกิดมะเร็ง โรคหัวใจ และแก่ชรา
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 1.3 มก. ต่อวันสำหรับผู้ชาย และ 1.1 มก. ต่อวันสำหรับผู้หญิง
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ไม่ได้มีการกำหนดปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้
เมื่อรับประทานวิตามินบี 2 น้อย : การขาดวิตามินบี 2 นั้นเหาได้ยากในอาหารทั่วไปของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การดูดซึมที่ผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้กับโรคต่างๆ เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคช่องท้อง และมะเร็งบางชนิด
อาหารที่มีวิตามินบี 2 : ธัญพืชและธัญพืชที่เสริมวิตามิน เนื้อ เครื่องในสัตว์ โยเกิร์ต นม ไข่ ผักโขม และบรอกโคลี
ก่อปฏิกิริยากับ : ยาอบแห้ง หรือยาแอนตี้โคลิเนอร์จิกบางชนิด ยาแก้ซึมเศร้า ยาต้านอาการชัก เมโธเทรกเซต และ
โพรเบเนซิด
วิตามินบี 2 จะช่วยเปลี่ยนวิตามินบี 6 และโฟเลตให้เป็นรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งยังมีการถกเถียงกันในระดับต่าง ๆว่า Methotrexate และยาต้านโรคเกาต์อาจจะรบกวนการดูดซึมวิตามินบี 2 ได้

13. วิตามินบี 3
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินบี 3 รู้จักกันในชื่อไนอาซิน ช่วยในการผลิตพลังงานจากอาหาร (น้ำตาลและไขมัน) และช่วยให้ผิวหนัง เส้นประสาท และระบบย่อยอาหารแข็งแรง
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 16 มก.สำหรับผู้ชาย และ 14 มก. สำหรับผู้หญิง
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 35 มก. จากอาหารเสริม นอกจากนี้ยังมีการบริโภควิตามินบี 3 ปริมาณมากถึง 500 – 2,000 มก. เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล แต่การรับประทานแบบนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะปริมาณไนอาซินในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการฟลัชไนอาซินได้ ที่ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงที่ไม่เป็นอันตรายแต่ก็ทำให้รู้สึกอึดอัด เช่น ผิวที่แดง และรู้สึกคันบริเวณใบหน้าและร่างกายส่วนบน
อาหารที่มีวิตามินบี 3 : ไก่ ทูน่า ไก่งวง ปลา เนื้อวัว ปลาแซลมอน ผักใบเขียว มะเขือเทศ ยีสต์ ไข่ เนยถั่ว มันเทศ และถั่ว
ก่อปฏิกิริยากับ : ยารักษาโรคเบาหวาน ยาลดคอเลสเตอรอล และยารักษาโรคเกาต์
มีการศึกษาเบื้องต้นบอกว่าวิตามินบี 3 ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าไนอาซินาไมด์อาจช่วยให้อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (OA) ดีขึ้น และลดความจำเป็นในการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในการระงับการอักเสบ

14. วิตามินบี 6
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินบี 6 ช่วยให้ร่างกายใช้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ที่ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาสมองตามปกติ ระบบภูมิคุ้มกัน และการทำงานของเส้นประสาท นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางเคมีมากกว่า 100 อย่างในร่างกายและในการสร้างกรดอะมิโน เซลล์เม็ดเลือดแดง วิตามินบี 3 และแอนติบอดี อีกทั้ง วิตามินบี 6 ต่ำจึงเป็นเรื่องปกติใน RA ที่ซึ่งสัมพันธ์กับระดับการอักเสบที่สูงขึ้น
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 1.3 มก. สำหรับผู้ใหญ่ทุกคนที่มีอายุไม่เกิน 50 ปี ในขณะที่ ผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรบริโภค 1.7 มก. ต่อวัน และผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรบริโภค 1.5 มก. ต่อวัน
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 100 มก. สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 19 ปี เนื่องจากการรับประทานอาหารเสริมมากกว่า 100 มก. ต่อวัน เป็นเวลานานอาจทำให้เส้นประ
สาทในแขนและขาเสียหายได้ชั่วคราว ดังนั้นจึงต้องหยุดบริโภคอาหารเสริมทันทีเมื่อคุณมีอาการชาผิดปกติในร่างกาย
เมื่อรับประทานวิตามินบี 6 น้อย : ค่อนข้างพบได้ยาก อาจมีอาการต่างๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ ลิ้นบวม ซึมเศร้า สับสน และชัก และการที่มีวิตามินบี 6 ในระดับที่ต่ำอาจจะเชื่อมโยงกับระดับโฮโมซิสเทอีนในระดับสูง ที่ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจได้
อาหารที่มีวิตามินบี 6 : ตับ ถั่วชิกพี ปลา ไก่ ไก่งวง มันฝรั่ง ผัก และผลไม้ที่ไม่ใช่สีส้ม
ก่อปฏิกิริยากับ : ยารักษาโรคลมบ้าหมู วัณโรค และโรคหอบหืด
นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าการอักเสบทำให้ผู้ป่วย RA มีค่าวิตามินบี 6 ต่ำ และค่าวิตามินบี 6 ต่ำจะทำให้การอักเสบแย่ลง อีกทั้ง การศึกษาในปี 2013 ยังพบว่าการรักษาด้วย NSAIDs โดยเฉพาะเป็นเวลานานกว่าหกเดือน จะช่วยลดระดับวิตามินบี 6 ในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ผู้เขียนจึงแนะนำว่า ควรตรวจสอบระดับวิตามินบี 6 ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ และเสริมหากจำเป็น โดยมีปริมาณที่แนะนำอยู่ที่ 100 มก. ต่อวัน และควรรับประทานร่วมกับ B คอมเพล็กซ์ทั้งหมด

15. วิตามินซี
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ
อีกทั้ง ยังสร้างคอลลาเจนและรักษาเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมถึงช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก โฟเลต และช่วยสมานแผลได้อีกด้วย
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 90 มก. ต่อวัน สำหรับผู้ชาย และ 75 มก. สำหรับผู้หญิง แต่สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ มีการแนะนำว่าจำเป็นต้องบริโภคเพิ่มอีก 35 มก. ต่อวัน
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 2,000 มก. ต่อวัน
เมื่อรับประทานวิตามินซีน้อย : น้ำหนักลด เหนื่อยล้า เหงือกอักเสบหรือมีเลือดออก ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดน้อยลง เกิดการติดเชื้อซ้ำ และเป็นหวัด
อาหารที่มีวิตามินซี : ส้มและผลไม้อื่น ๆ เช่น สตรอเบอร์รี่ ผลกีวี แคนตาลูป และมะเขือเทศ พริกหยวก บรอกโคลี กะหล่ำดาว และมันฝรั่ง (การปรุงอาหารสามารถทำให้สูญเสียปริมาณวิตามินซีในอาหารได้)
ก่อปฏิกิริยากับ : แอสไพริน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) การรักษามะเร็งและการฉายรังสีบางประเภท กลุ่มยาสแตติน ยาบางชนิดสำหรับเอชไอวี/เอดส์ และยาต้านการแข็งตัวของเลือด
วิตามินซีช่วยป้องกันโรคเกาต์ด้วยการลดระดับกรดยูริก อีกทั้งยังมีงานศึกษาขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่งที่พบว่าการบริโภควิตามินซี 1,500 มก. ต่อวัน (เทียบเท่ากับส้ม 30 ผล) ช่วยลดความเสี่ยงโรคเกาต์ได้ครึ่งหนึ่ง และการวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการได้รับวิตามินซีอย่างน้อย 500 มก. ต่อวัน สามารถลดความดันโลหิตได้ 3-5 ระดับ ซึ่งมันเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้

16. วิตามินดี
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินดีช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ที่สำคัญหลายอย่าง ได้แก่ ช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก ช่วยควบคุมเซลล์ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการทำงานของภูมิต้านทานผิดปกติ ต่อสู้กับการอักเสบ ป้องกันเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรค และช่วยสร้างไมโครไบโอมที่แข็งแรงในลำไส้ นอกจากนี้ ปริมาณของวิตามินดีที่เพียงพอนั้นเชื่อมโยงกับสุขภาพหัวใจที่ดีขึ้นเช่นกัน อีกทั้ง วิตามินดียังถูกแปลงเป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่สามารถเปิดหรือปิดยีนได้ภายในร่างกายของเรา โดยส่งสัญญาณให้พวกมันสร้างเอนไซม์และโปรตีนที่สำคัญต่อการรักษาสุขภาพและต่อสู้กับโรคที่เกิดขึ้น
ปริมาณที่ควรบริโภค : ยังไม่มีความเห็นที่ตรงกันว่าควรบริโภคปริมาณวิตามินดีเท่าใดถึงจะดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมีปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันอยู่ที่ 800 หน่วยสากล (IU) แต่สมาคมผู้สูงอายุแห่งอเมริกากลับแนะนำให้บริโภคอย่างน้อย 1,000 IU อีกทั้ง นพ. เอ็ดเวิร์ด จิโอวานนุชชี่ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยังแนะนำให้รับประทานมากถึง 2,000 IU ต่อวัน นอกจากนี้ จากการศึกษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นเวลาสองปี พบว่าควรบริโภควิตามินดีปริมาณ 50,000 IU ต่อเดือนจึงจะปลอดภัย ดังนั้น เมื่อคุณเริ่มที่จะซื้ออาหารเสริม ให้มองหาวิตามินดี 3 (cholecalciferol) ที่ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ร่างกายสร้างจากแสงแดด เพราะมันจะดูดซึมได้ดีกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิตามินดี 2 (ergocalciferol)
เมื่อรับประทานวิตามินดีน้อย : ระดับวิตามินดีต่ำอาจเชื่อมโยงกับโรค RA โรคลำไส้อักเสบความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีปัญหาในความจำ มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นโรคหอบหืด และมีอาการปวดเรื้อรัง และที่น่าสังเกตคือ มีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่า 60% ที่ไม่ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ เนื่องจากร่างกายมีประสิทธิภาพในการผลิตน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น แพทย์จะสามารถตรวจสอบระดับวิตามินดีของคุณได้จากการตรวจเลือดแบบทั่วไป และถึงแม้ว่าการทดสอบสำหรับคนที่มีสุขภาพดีจะยังไม่มีประโยชน์มาก แต่ระดับที่ดีคือควรมีปริมาณวิตามินดีประมาณ 30 ถึง 50 ng/mL (การตรวจเลือดอาจไม่แม่นยำสำหรับคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน เนื่องจากวิตามินดีมักจับตัวกับโปรตีนที่เป็นชนิดที่ใช้ในการทดสอบค่อนข้างน้อย)
อาหารที่มีวิตามินดี : วิตามินดีมักพบได้ในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะปลาแซลมอน ทูน่า ปลาซาร์ดีน และน้ำมันปลา รวมถึงยังมีการเพิ่มวิตามินลงในนม โยเกิร์ต น้ำส้ม และซีเรียลสำหรับมื้อเช้า นอกจากนี้ แสงแดดยังเป็นแหล่งวิตามินหลักของผู้คนส่วนใหญ่ ที่ซึ่งจะดูดซึมผ่านทางผิวหนังและเปลี่ยนเป็นวิตามินดีด้วยการทำงานของตับและไต ทำให้การรับวิตามินจากมื้ออาหารหลักจะช่วยเพิ่มการดูดซึมได้ 30% ถึง 50% แต่หากคุณไม่สามารถรับวิตามินจากมื้ออาหารหลักได้ ให้ซื้อแบบน้ำมันสกัดมารับประทานแทน
ในการวิเคราะห์อภิมานในปี 2016 จากการศึกษา 15 ชิ้นที่เกี่ยวข้องกับผู้ทดสอบมากกว่า 2,000 คน พบว่าการขาดวิตามินดีเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายมากขึ้น และระดับเลือดในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ต่ำกว่าผู้ที่ไม่มี RA อย่างมีนัยสำคัญ แม้ผู้ป่วยที่มีระดับเลือดต่ำสุดก็อาจจะเป็นโรคร้ายแรงที่สุดได้เช่นกัน และยังมีงานศึกษาอื่น ๆที่มีผลการวิจัยตรงกันในเรื่องของระดับเลือดต่ำ แต่ก็ยังไม่เห็นความเชื่อมโยงกับความรุนแรงของโรค RA นอกจากนี้ จากการศึกษาที่ติดตามผู้ป่วย RA ในระยะเริ่มแรกจำนวน 37 รายเป็นเวลาหนึ่งปีพบว่า ผู้ที่มีวิตามินดีต่ำในช่วงเริ่มต้นของการศึกษาไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาและมีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการน้อยลงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีตามปกติ แต่ในทางกลับกัน จากการศึกษาในปี 2016 พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมรู้สึกว่าการสูญเสียกระดูกอ่อนหรือความเจ็บปวดนั้นไม่ได้ดีขึ้นหลังจากรับประทานอาหารเสริมวิตามินดีเป็นเวลาสองปี (ข้อจำกัดในการศึกษาอาจส่งผลต่อผลลัพธ์)

17. วิตามินอี
มีประโยชน์อะไรบ้าง : วิตามินอีทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องร่างกายจากสารอนุมูลอิสระที่ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถทำลายร่างกายได้ อีกทั้ง วิตามินอียังสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 15 มก. หรือ 22.4 หน่วยสากล (IU) สำหรับผู้ใหญ่
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : การบริโภควิตามินอีปริมาณมากกว่า 1,000 มก. หรือ 1,500 IU ต่อวันในรูปแบบอาหารเสริมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับแอสไพรินหรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
เมื่อรับประทานวิตามินอีน้อย : การบริโภควิตามินอีน้อยเกินไปนั้นหาได้ยากในคนที่มีสุขภาพดี แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการ เช่น โรคโครห์น โรคซิสติกไฟโบรซิส และโรคตับ อาจต้องการวิตามินอีเพิ่มจากปกติ
อาหารที่มีวิตามินอี : วิตามินอีสามารถพบได้ในน้ำมันพืชที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันคาโนลา น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันเมล็ดทานตะวัน เนยถั่ว รวมถึงผักโขม และบรอกโคลี
ก่อปฏิกิริยากับ : การได้รับวิตามินอีในปริมาณมากอาจทำให้เลือดออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ยาลดไขมันในเลือดด้วย รวมถึงก่อปฏิกิริยากับกลุ่มยาสแตติน แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และเมื่อได้รับเคมีบำบัด หรือการฉายรังสี
ครั้งหนึ่งวิตามินอีเคยได้รับการยกย่องว่าเป็นยาที่รักษาได้ทุกอย่าง แต่ก็ได้ล้มเหลวในการศึกษาวิจัยปัจจุบัน ที่ซึ่งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคข้ออักเสบได้

18. วิตามินเค
มีประโยชน์อะไรบ้าง : ในกลุ่มของวิตามิน K เช่น วิตามิน K1 และ K2 (MK-4 และ MK-7) วิตามิน K1 นั้นจะช่วยในเรื่องของลิ่มเลือด และวิตามิน K2 ที่มาพร้อมกับวิตามินดีและแคลเซียนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพกระดูก นอกจากนี้ วิตามินเคยังช่วยดูดซับแคลเซียมส่วนเกินจากบริเวณที่คุณไม่ต้องการ เช่น บริเวณหัวใจ และสมอง
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 120 ไมโครกรัมสำหรับผู้ชาย และ 90 ไมโครกรัมสำหรับผู้หญิง อย่างไรก็ตาม คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ได้รับ RDA จากอาหารของพวกเขามากนัก ทำให้เวลามองหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ให้มองหาวิตามิน K1 รวมและวิตามิน K2 ทั้งสองชนิด (บางครั้งเรียกว่า K2 คอมเพล็กซ์) เช่น Super K ของ LifeExtension
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ยังไม่ได้มีการกำหนดปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันสำหรับวิตามินเค
เมื่อรับประทานวิตามินเคน้อย : แม้ว่าจะหาได้ยาก แต่การขาดสารอาหารอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือด รวมถึงอาจทำให้เหงือกช้ำ และมีเลือดออกได้
อาหารที่มีวิตามินเค : วิตามิน K1 เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในผักใบเขียว ผลไม้บางชนิด และน้ำมันพืช ในขณะที่วิตามิน K2 ทั้งสองชนิดสามารถพบได้ในไข่แดง ชีสบางชนิด และของหมัก เช่น กะหล่ำปลีดอง และคีเฟอร์
ก่อปฏิกิริยากับ : ยาปฏิชีวนะ และยาลดไขมันในเลือด
มีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวิตามินเคในการป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกและกระดูกเปราะหัก จากการวิเคราะห์อภิมานหนึ่งในการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม 20 รายการ พบว่าวิตามิน K1 และ K2 ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก แต่ K2 นั้นมีประสิทธิภาพเหนือกว่าในการป้องกันในบริเวณกระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกหักอื่น ๆ รวมถึงได้มีการวิเคราะห์ผู้ป่วยในโครงการ Osteoarthritis Initiative ในปี 2018 ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีวิตามิน D และ K ในระดับปกติสามารถเดินได้เร็วขึ้น มีความยืดหยุ่นมากกว่า และทำงานได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินต่ำ อีกทั้ง การศึกษาอื่น ๆ ยังพบว่าผู้ที่ได้รับวิตามินเคน้อยเกินไปมีแนวโน้มที่จะเกิด OA มากขึ้น

19. สังกะสี
มีประโยชน์อะไรบ้าง : สังกะสีช่วยในการสมานแผล สร้างเซลล์ในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ การเจริญเติบโตทางเพศ ตลอดจนถึงการรับรสและกลิ่น นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของเอนไซม์มากกว่า 100 อย่างในร่างกาย
ปริมาณที่ควรบริโภค : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคอยู่ที่ 11 มก. ต่อวัน สำหรับผู้ชาย และปริมาณ 8 มก. ต่อวัน สำหรับผู้หญิง
ปริมาณที่บริโภคได้สูงสุดต่อวัน : ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันอยู่ที่ 40 มก. ต่อวัน
เมื่อรับประทานสังกะสีน้อย : ผมร่วง เกิดแผลที่ตาและผิวหนัง ท้องเสีย และมีอาการเบื่ออาหาร
อาหารที่มีสังกะสี : หอยนางรม ปู กุ้งล็อบสเตอร์ เนื้อแดง ไก่ ไก่งวง ซีเรียลอาหารเช้าที่มีการเพิ่มสังกะสี ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกอ่อน ธัญพืช
ก่อปฏิกิริยากับ : ยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ และแคลเซียม
จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าระดับปริมาณสังกะสีลดลงอย่างมีนัยสำคัญในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีสังกะสี และระดับต่ำที่สุดนั้นสัมพันธ์กับโรคที่รุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังกล่าวว่าสังกะสีอาจช่วยให้อาการ RA ดีขึ้นด้วยการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพของกระดูกอ่อน
คำค้นหา
วิตามิน
แร่ธาตุ
ปวดเข่า
ข้อเข่าเสื่อม
กระดูกเสื่อม
เส้นเอ็นอักเสบ
กระดูกทับเส้นประสาท
ขาดน้ำเลี้ยงข้อเข่า
เก๊าท์