บทบาทของแมกนีเซียมในการรักษาอาการปวดข้อ : แร่ธาตุธรรมดานี้จะสามารถชุบชีวิตคุณได้อย่างไร

หากคุณกำลังประสบกับอาการปวดข้อ คุณคงเข้าใจดีว่าอาการปวดข้อนี้นั้นสามารถขัดขวางการใช้ชีวิตให้เต็มที่อย่างไร มันจะจำกัดการเคลื่อนไหวของคุณ ทำให้จิตใจของคุณแย่ลง และบั่นทอนความสุขที่คุณได้รับจากการทำกิจกรรมในแต่ละวัน ในขณะนี้ โลกได้หันมาใช้วิธีการรักษาแบบธรรมชาติมากขึ้น ทำให้การคิดค้นวิธีการรักษาที่ไม่ใช้ยาเพื่อบรร เทาอาการปวดข้อเป็นที่นิยมอย่างมาก และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นที่แมกนีเซียมได้เข้ามา ที่ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่อาหารเสริมทั่วไป แต่ยังช่วยในการบรรเทาอาการปวดข้อได้
นอกจากนี้ ยังมีการหารือเกี่ยวกับเบื้องหลังทางวิทยาศาสตร์ของคุณประโยชน์ของแมกนีเซียม และแนะนำให้เริ่มเพิ่มแมกนีเซียมในมื้ออาหารประจำวัน จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในชีวิตจากการรักษาอาการปวดข้อด้วยวิธีธรรมชาติ

แมกนีเซียมคืออะไร

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่าง หรือเรียกว่าเป็นตัวสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด ที่ซึ่งส่งผลต่อทุกอย่าง ตั้งแต่การผลิตพลังงานไปจนถึงการสังเคราะห์ DNA หน้าที่หลักอีกอย่างหนึ่งของแมกนีเซียมในร่างกายก็คือ ทำหน้าที่เป็นปัจจัยร่วมในปฏิกิริยาของเอนไซม์ “โคแฟกเตอร์” ที่สามารถเปรียบเป็นโมเลกุลตัวช่วยที่จำเป็นในการก่อปฏิกิริยานี้ให้สำเร็จ ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แมกนีเซียมรวมถึงกระบวนการที่มีความสำคัญต่อชีวิต เช่น การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ การสังเคราะห์โปรตีน การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม และการควบคุมความดันโลหิต
บทบาทหน้าที่ของแมกนีเซียมมีความโดดเด่นเป็นพิเศษในการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท มันจะช่วยควบคุมสัญญาณประสาทและกล้ามเนื้อ หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อ และอาการตะคริวของกล้ามเนื้อมักบ่งบอกถึงการขาดแมกนีเซียม เนื่องจากแร่ธาตุนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายหลังจากการหดตัว และแม้ว่าการผ่อนคลายนี้มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูกในขณะที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ กล้ามเนื้อหัวใจก็มีความสัมพันธ์ที่สำคัญกับแมกนีเซียมเช่นกัน
แมกนีเซียมนั้นมีบทบาทสำคัญในด้านสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากช่วยรักษาอัตราการเต้นของหัวใจให้แข็งแรง และรักษาการทำงานของหลอดเลือดในระดับที่เหมาะสม แมกนีเซียมช่วยในการควบคุมความดันโลหิต และขนส่งแร่ธาตุอื่น ๆ ให้เหมาะสม เช่น โพแทสเซียม แลแคลเซียม ที่ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการทำงานของหัวใจที่แข็งแรง อีกทั้ง ยังสามารถป้องกันและจัดการสภาวะต่าง ๆ ในบางกรณี เช่น ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
นอกจากนี้ แมกนีเซียมยังเป็นแร่ธาตุพื้นฐานที่จำเป็นต่อสุขภาพกระดูกอีกด้วย เพราะการทำงานร่วมกันของแคลเซียมและวิตามินดีช่วยรักษากระดูกและฟันให้แข็งแรง ถึงแม้ว่าแคลเซียมมักถูกเน้นว่าเป็นแร่ธาตุหลักสำหรับสุขภาพกระดูก แต่แมกนีเซียมก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน มันช่วยกระตุ้นการทำงานของวิตามินดีในการดูดซึมแคลเซียมในกระดูก
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ แมกนีเซียมมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพจิต โดยช่วยในการควบคุมสารสื่อประสาท ที่ซึ่งส่งข้อความไปทั่วสมองและระบบประสาท ทำให้ระดับแมกนีเซียมที่เพียงพอนั้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของภาวะต่างๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล แมกนีเซียมจะช่วยรักษาการทำงานของสมองและการควบคุมอารมณ์ และทำให้เป็นองค์ประกอบสำคัญในสุขภาพจิตที่ดี

แมกนีเซียมมีประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อและข้อต่ออย่างไร

แมกนีเซียมมีบทบาทสำคัญในด้านการทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อ อย่างแรกคือ แมกนีเซียมทำหน้าที่เป็นตัวปิดกั้นแคลเซียมตามธรรมชาติในระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยแคลเซียมไอออนจะไหลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อเมื่อมีการหดตัว และแมกนีเซียมจะตอบโต้การกระทำนี้ด้วยการช่วยผลักแคลเซียมออกจากเซลล์ ที่ซึ่งนำไปสู่การผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ อีกทั้ง ความสมดุลระหว่างแคลเซียมและแมกนีเซียมนี้ยังจำเป็นต่อระบบการทำงานของกล้ามเนื้อที่เหมาะสม โดยแมกนีเซียมจะมีบทบาทในการผลิตพลังงานภายในเซลล์กล้ามเนื้อ และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) ที่ซึ่งเป็นโมเลกุลพลังงานหลักในร่างกายอีกด้วย
แม้แมกนีเซียมจะไม่ได้เป็นคุณประโยชน์หลัก แต่ก็มีความสำคัญเท่ากันในบริบทของสุขภาพข้อต่อ อย่างที่เราเห็นว่า แมกนีเซียมมีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรง จึงจำเป็นต่อการทำงานของข้อต่อ และแมกนีเซียมก็ช่วยควบคุมการขนส่งแคลเซียม ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความหนาแน่นของกระดูกและป้องกันภาวะต่าง ๆ อย่างเช่น โรคกระดูกพรุน ที่อาจส่งผลทางอ้อมต่อสุขภาพของข้อต่อได้
การอักเสบเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อและอาจส่งผลต่อโรคข้ออักเสบได้ แมกนีเซียมสามารถช่วยบรร เทาอาการปวดข้อและส่งเสริมการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้ด้วยการลดการอักเสบ ฤทธิ์ต้านการอักเสบนี้มีประโยชน์ต่อข้อต่อโดยตรง โดยช่วยลดอาการปวดตึงและอาการปวดของกล้ามเนื้อ ทำให้ส่งผลดีต่อสุขภาพของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยรวม

แมกนีเซียมชนิดใดดีที่สุดสำหรับรักษาอาการปวดข้อ

แมกนีเซียมไกลซิเนตและแมกนีเซียมมาเลทเป็นแมกนีเซียมสองประเภทที่มีประสิทธิภาพที่สุด หรือเรียกว่าเป็นแมกนีเซียมที่ดีที่สุดสำหรับรักษาอาการปวดข้อ
แมกนีเซียมไกลซิเนต เป็นอาหารเสริมที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในด้านการรักษาอาการปวดข้อ โดยแมกนีเซียมไกลซิเนตเกิดจากการจับคู่ระหว่างแมกนีเซียมและไกลซีนที่มีประสิทธิภาพการดูดซึมที่โดดเด่น จึงหมายความว่า ร่างกายของคุณจะสามารถดูดซึมแร่ธาตุและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าแมกนีเซียมรูปแบบอื่น ๆ เนื่องจากแมกนีเซียมมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น ส่งผลให้ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นและความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อลดลงได้อย่างชัดเจน อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของแมกนีเซียมไกลซิเนตคือ ผลกระทบที่น้อยต่อระบบย่อยอาหาร เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารเสริมแมกนีเซียมชนิดอื่น ๆ รูปแบบของแมกนีเซียมไกลซิเนตจะเพิ่มระดับแมกนีเซียมในพลาสมาโดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร อย่างเช่น อาการท้องร่วง
ในขณะที่ แมกนีเซียมมาเลตที่ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างแมกนีเซียมและกรดมาลิก ก็ให้ประโยชน์เช่นกัน เนื่องด้วยส่วนประกอบและผลลัพธ์ที่เส่งผลดีต่อร่างกาย อีกทั้ง กรดมาลิกยังเกี่ยวข้องกับวัฏจักรกรดซิตริก ที่ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการผลิตพลังงานของเซลล์ ทำให้แมกนีเซียมนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีอาการปวดข้อ เนื่องจากการผลิตพลังงานในระดับเซลล์สามารถเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ และลดความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อที่เป็นอาการที่มักเกี่ยวข้องกับอาการไม่สบายข้อต่อได้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าแมกนีเซียมมาเลตนั้นอาจเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสภาวะต่าง ๆ เช่น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย และอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง

การขาดแมกนีเซียมทำให้เกิดอาการปวดข้อหรือไม่

แม้ว่าการเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลโดยตรงจะซับซ้อนและได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการขาดแมกนีเซียมในร่างกายอาจทำให้อาการปวดข้อรุนแรงขึ้นหรือแม้กระทั่งมีส่วนก่อให้เกิดอาการปวดข้อได้ แมกนีเซียมจึงมีบทบาทสำคัญในการรักษาโครงสร้างและเสริมสร้างการทำงานของกระดูกให้แข็งแรง มันจำเป็นต่อการดูดซึมและการเผาผลาญของแคลเซียม ที่ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูก เนื่องจากเมื่อระดับแมกนีเซียมต่ำ แคลเซียมอาจจะไม่สามารถดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ
นอกจากนี้ แมกนีเซียมยังส่งผลต่อสุขภาพของกระดูกอ่อนในข้อต่อด้วย ระดับแมกนีเซียมที่ไม่เพียงพออาจนำไปสู่การเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน และทำให้อาการแย่ลงได้ อย่างเช่น โรคข้อเข่าเสื่อม อีกทั้ง แมกนีเซียมยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบตามธรรมชาติ และการอักเสบเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการปวดข้อต่างๆ รวมถึงโรคข้ออักเสบและโรคไขข้ออักเสบ เนื่องจากแมกนีเซียมมีคุณสมบัติต้านการอักเสบตามธรรมชาติ ดังนั้น การขาดแมกนีเซียมจึงส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่อการอักเสบมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดข้อและข้อตึงเพิ่มขึ้น

วิธีทดสอบระดับแมกนีเซียม

มีวิธีการทดสอบหลายวิธีเพื่อประเมินระดับแมกนีเซียมในร่างกาย ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อควรพิจารณาต่างกันไป :
Serum Magnesium : เป็นการทดสอบที่พบบ่อยที่สุดและใช้การเจาะเลือดขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม โดยหลักแล้วการที่จะวัดแมกนีเซียมในเลือดของคุณ ไม่ใช่ภายในเซลล์ที่ซึ่งเป็นที่สะสมแมกนีเซียมส่วนใหญ่ในร่างกาย ทำให้แม้ว่าระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำอาจบ่งชี้ถึงภาวะขาดแมกนีเซียม แต่ผลลัพธ์ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เนื่องจากไม่ได้แสดงให้เห็นถึงระดับแมกนีเซียมจริง ๆ ภายในเซลล์
Red Blood Cell Magnesium : การทดสอบนี้จะวัดระดับแมกนีเซียมในเซลล์เม็ดเลือดแดง และถือว่ามีความแม่นยำมากกว่าการทดสอบด้วยเซรุ่มที่ใช้ประเมินระดับแมกนีเซียม การทดสอบ RBC นี้สามารถเป็นตัวบ่งชี้ระดับแมกนีเซียมในร่างกายได้ดีกว่า เพราะในกรณีที่เกิดภาวะขาดแมกนีเซียม ร่างกายอาจดึงแมกนีเซียมจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อเติมเต็มในระดับเซรุ่ม ดังนั้น หากการทดสอบ RBC แสดงให้เห็นว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงกำลังขาดแมกนีเซียม อาจบ่งชี้ว่าร่างกายมีแมกนีเซียมไม่เพียงพอที่จะกักเก็บและไหลเวียนในเซรุ่ม และกำลังดึงแมกนีเซียมจากเซลล์เม็ดเลือดแดงมาเติมเต็มความต้องการของร่างกาย
Micronutrient Testing : การตรวจภาวะโภชนาการของร่างกายของ SpectraCell Laboratories ได้นำเสนอการประเมินวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ กรดไขมัน และกรดอะมิโนที่จำเป็นโดยรวมอย่างครอบคลุม รวมถึงแมกนีเซียมด้วย การทดสอบนี้ให้การประเมินโดยละเอียดของภาวะโภชนาการทั้งภายนอกเซลล์ และภายในเซลล์

แร่แมกนีเซียมจากอาหารนั้นเพียงพอหรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว ระดับแมกนีเซียมที่เพียงพออาจได้รับมาจากการรับประทานอาหารที่สมดุลและมีการพิจารณาอย่างดี แต่ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำให้บริโภคแต่ละวันอาจจะแตกต่างกันไปและอาจไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของคนจำนวนมาก โดยกล่าวกันว่า ผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่จำเป็นต้องบริโภคแมกนีเซียมอย่างน้อยประมาณ 400-420 มก. ต่อวัน ในขณะที่ ผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่อาจต้องการเพียง 310-320 มก. โดยอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมได้แก่ ผักใบเขียว อย่างเช่น ผักโขม ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืช อย่างเช่น เมล็ดฟักทองและอัลมอนด์ ตลอดจนถึงธัญพืชที่ไม่ขัดสีและพืชตระกูลถั่วฝัก เช่น ถั่วเปลือกอ่อนและถั่วเลนทิล รวมถึงปลาบางชนิดอย่างปลาแซลมอน ดังนั้น การรวบรวมอาหารเหล่านี้ที่หลากหลายชนิดไว้ในอาหารประจำวันของคุณจะช่วยให้คุณได้รับแร่แมกนีเซียมตามที่ต้องการในแต่ละวัน

ปริมาณแมกนีเซียมที่จำเป็นต่อร่างกาย

การรับประทานอาหารเสริมแร่แมกนีเซียมนั้นจะจำเป็นก็ต่อเมื่อปริมาณแมกนีเซียมจากการบริโภคอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ หรือมีภาวะสุขภาพที่ต้องการแมกนีเซียมมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำให้บริโภคอาจแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น ปริมาณอาหารเสริมที่แนะนำให้บริโภคจะแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และความต้องการด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยปริมาณแมกนีเซียมที่ควรบริโภค คือ 65 มก. ต่อวัน สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี และปริมาณ 110 มก. ต่อวันสำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี ในขณะที่ ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 9 ปีขึ้นไป ควรบริโภคแมกนีเซียมปริมาณ 350 มก. ต่อวัน

บทบาทของแมกนีเซียมในการรักษาอาการปวดข้อ: ประเด็นสำคัญ

ภาวะการขาดแมกนีเซียมอาจทำให้เกิดอาการปวดข้อได้ เนื่องจากแมกนีเซียมมีบทบาทสำคัญในระบบการทำงานของ กล้ามเนื้อ สุขภาพกระดูก และการควบคุมเส้นประสาท รวมถึงมีคุณสมบัติต้านการอักเสบอีกด้วย ทำให้การบริโภคแมกนีเซียมอย่างเพียงพอนั้น เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจัดการการหดตัวและการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ การผลิตพลังงานในเซลล์กล้ามเนื้อ และลดการอักเสบ ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ อีกทั้ง แมกนีเซียมยังช่วยส่งเสริมการทำงานของข้อต่อโดยรวมให้สมบูรณ์ด้วยการเสริมสร้างสุขภาพกระดูกและการสังเคราะห์โปรตีนโครงสร้างที่จำเป็น ดังนั้น ระดับแมกนีเซียมที่เพียงพอจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของกล้ามเนื้อและข้อต่ออย่างมาก เพราะจะช่วยลดความรู้สึกไม่สบายตัวของกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น

คำค้นหา

แมกนีเซียม
แร่ธาตุ
โรคข้ออักเสบ
ปวดเข่า
ข้อเข่าเสื่อม
กระดูกเสื่อม
เส้นเอ็นอักเสบ
กระดูกทับเส้นประสาท
ขาดน้ำเลี้ยงข้อเข่า
เก๊าท์

บทความแนะนำ

7 ผลิตภัณฑ์แก้ข้อเข่าเสื่อม

ขายดีในร้านยาปี 2024